วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS03 30/06/2552

อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก

อาร์เรย์ 1 มิติเป็นตัวแปรที่เก็บข้อมูลเพียงแถวเดียวหรือชั้นเดียวเช่นในการคำนวณหาสมาชิกของอาร์เรย์ 1 มิติทำได้ดังนี้จำนวนสมาชิกของอาร์เรย์ = (u-l)+1u คือค่าสูงสุด หรือ Upper boundl คือค่าต่ำสุด หรือ Lower bound ส่วน 2 มิติสามารถหาได้ดังนี้จำนวนสมาชิก = M x N

รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์มิติเดียวtype array-name[n];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn คือขนาดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น

อาร์เรย์ 2 มิติมีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติtype array-name[n][m];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์เช่น int num[3][5];

Structure โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูล

struct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล(ต้องมีเสมอ)name คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้นtype var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปรในกลุ่มโครงสร้างข้อมูลstruct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้างที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะโครงสร้างภายในเหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด
ตัวอย่าง struct student student1;
การอ้างถึงสมาชิกในตัวแปรชนิดโครงสร้างstruct-name.variable-namestruct-name คือ ชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้าง (ไม่ใช่ชื่อโครงสร้าง). คือเครื่องหมายขั้นระหว่างชื่อตัวแปรชนิดโครงสร้างกับตัวแปรที่เป็นสมาชิก
variable-name คือชื่อของตัวแปรที่เป็นสมาชิกการกำหนดข้อมูลให้ตัวแปรชนิดโครงสร้างเราสามารถกำหนดได้เหมือนตัวแปรทั่วไปแต่ต้องอ้างอิงถึงสมาชิกให้ถูกต้อง เช่น student1.age = 15;student1.sex = 'M'; กรณีถ้าเป็นอาร์เรย์ของตัวแปรชนิดโครงสร้างสามารถเขียนได้ดังนี้ student1[0].age = 15;

หน่วยวัดความจำข้อมูล
1 กิโลไบต์ = 1,024 ไบต์
1 เมกะไบต์ = 1,048,576 ไบต์ หรือ 1,024 กิโลไบต์
1 จิกะไบต์ = 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1,024 เมกะไบต์
1 เทระไบต์ = 1,099,511,627,776 ไบต์ หรือ 1,024 จิกะไบต์
เพตะไบต์ PB 1015 ≈ เพบิไบต์ PiB 250
เอกซะไบต์ EB 1018 ≈ เอกซ์บิไบต์ EiB 260
เซตตะไบต์ ZB 1021
ยอตตะไบต์ YB 1024

DTS01 16/06/2552

ปฐมนิเทศ

โครงสร้างข้อมูล (DATA STRUCTURE)

ผู้สอน : อาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์

E-mail : phorramatpanyaprat@hotmail.com
การเก็บคะแนน 100 แบ่งออกเป็น
60:40
*ความสำคัญของวิชาโครงสร้างข้อมูล
*โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้น ๆ เช่น การสร้างบ้าน ก็ต้องมีส่วนประกอบในการสร้าง ได้แก่ หิน ทราย ปูน เป็นต้น

สอนการสร้าง blogger ก่อนที่จะสร้าง Blog ต้องมี E-mail ของ gmail ก่อน โดยการตั้ง ชื่อ E-mail คือ u ตามด้วยรหัสประจำตัว

เช่น u50132792087@gmail.com

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

นายชัยพล เลี้ยงใจ ชื่อเล่น เชน

รหัสประจำตัว 50132792087

Mr.Chaiyapol Liangjai
หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Tel. 081-491-1683

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02 23/06/2552

โครงสร้างข้อมูล เกิดจากคำสองคำได้แก่ “โครงสร้าง” และ “ข้อมูล” ซึ่งคำว่า “โครงสร้าง” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นโครงสร้างข้อมูลจึงหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆ

ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
ในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
- เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะข้อมูล
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น Primitive Data Types
ได้แก่ จำนวนเต็ม จำนวนจริง และตัวอักขระ
1.2 ข้อมูลโครงสร้าง Structured Data Types
ได้แก่ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูล
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ
-เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากจินตนาการของผู้ใช้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น แบ่ง เป็น 2 ประเภท
2.1 โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น Linear Data Structures
ความสัมพันธ์ของข้อมูลจะเรียงต่อเนื่องกัน เช่น ลิสต์ สแตก คิว สตริง
2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ Non-Linear Data Structures
ข้อมูลแต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัว
ได้แก่ ทรี และกราฟ


ขั้นตอนวิธีที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีความถูกต้อง
2. ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด
3. สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
5. มีความยืดหนุ่นในการใช้งาน
6. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
7. ง่ายต่อการทำความเข้าใจ


ภาษาขั้นตอนวิธี Algorithm Language
เป็ภาษาสำหรับเขียนขั้นตอนวิธี มีรูปแบบที่สั้น กระชับและรัดกุมและมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(การรับค่านั่นเอง)
1. ตัแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2. การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3. นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับ
นิพจน์ที่เป็นตรรกศาสตร์ จะใช้เครื่องหมายใน
การเปรียบเทียบ คือ
= เท่ากับ = ไม่เท่ากับ
< น้อยกว่า > มากกว่า
≤ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ≥ มากกว่าหรือเท่ากับ
4. ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือ
goto เลขที่ขั้นตอน
5. การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไข
ก่อนทำงาน มีรูปแบบดังนี้
- แบบทางเลือกเดียว ใช้รูปแบบ คือ
if (condition) then statement 1
- แบบสองทางเลือก ใช้รูปแบบ คือ
if (condition) then statement 1
else statement
6. การทำงานแบบซ้ำ
- แบบทดสอบเงื่อนไขที่ต้นวงรอบ มีรูปแบบ ดังนี้
while (condition) do
statement
- แบบทำซ้ำด้วยจำนวนครั้งของการทำซ้ำคงที่ มีรูปแบบ
for a=b to n by c do
statement
7. คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของ
ขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /

ภาษาธรรมชาติ
คำว่า ภาษาธรรมชาติ (
อังกฤษ: natural language) นั้น ใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อการสื่อสาร เช่น ภาษามนุษย์ ออกจากภาษาที่ถูกสร้างขึ้นอย่าง เช่น ภาษาโปรแกรมสำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ หรือภาษาที่ใช้ในการศึกษาตรรกกะ

Record - 23/6/2552

#include<stdio.h>
#include<string.h>


void main()
{
struct aircondition
{
char customer[15];
char brand [30];
char colour [20];
char personal[20];
int item;
unsigned int personal_id;
int number_air;
float price;

}air;


strcpy(air.customer,"Peiy");
strcpy(air.brand,"Mitsubishi");
strcpy(air.colour,"white");
strcpy(air.personal,"Chain");
air.item=1;
air.personal_id=12345;
air.number_air=69;
air.price=17350.50;

printf("Customer:%s\n",air.customer);
printf("Brand:%s\n",air.brand);
printf("Colour:%s\n",air.colour);
printf("Personal:%s\n",air.personal);
printf("Item:%d\n",air.item);
printf("Personal_id:%d\n",air.personal_id);
printf("Number_Air:%d\n",air.number_air);
printf("Price:%.2f\n",air.price);


}